การวางกลศึก ของ 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติและฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ดั่งคำกล่าวของจูกัดเหลียงที่ว่า "อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา"[3] ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเพลี่ยงพล้ำหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางบกเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกล สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงอาหารและกองกำลังหนุนยามเพลี่ยงพล้ำ

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพเรือ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ ชำนาญในการเดินเรือ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ โขดหินและร่องน้ำตามธรรมชาติ รวมทั้งรู้จักฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ย่อมหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางน้ำเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกลในการเดินทัพเรือ สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงกรังและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำและพ่ายแพ้

ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักและเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารภายใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ ตำราพิชัยสงครามซุนวู 13 บท กล่าวไว้ว่า "การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองลงมาคือชนะด้วยการทูต รองลงมาอีกคือชนะด้วยการรบ"[2] จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ตันฮก ลิบอง ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกและตำราพิชัยสงครามในการทำศึก ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊กในแต่ละครั้งมีดังนี้

  1. กลยุทธ์ชนะศึก (อังกฤษ: Winning Stratagems)
  2. กลยุทธ์เผชิญศึก (อังกฤษ: Enemy Dealing Stratagems)
  3. กลยุทธ์เข้าตี (อังกฤษ: Attacking Stratagems)
  4. กลยุทธ์ติดพัน (อังกฤษ: Chaos Stratagems)
  5. กลยุทธ์ร่วมรบ (อังกฤษ: Proximate Stratagems)
  6. กลยุทธ์ยามพ่าย (อังกฤษ: Defeat Stratagems)